วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงโคขุน

วิธีการขุนโคเนื้อ
วิธีขุนโค แบ่งออกเป็น 2 วิธี ตามการให้อาหารคือ
1. การขุนด้วยการให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องได้รับหญ้าสดที่มีคุณภาพดี อาจตัดให้กินหรือปล่อยเลี้ยงในทุ่งหญ้า การขุนวิธีนี้ไม่แตกต่างกับการเลี้ยงโคเนื้อทั่วไปมากนัก จะต้องใช้ระยะเวลานานในการเพิ่มน้ำหนักตัวตามต้องการ อีกทั้งยังได้เนื้อที่ไม่ค่อยมีคุณภาพดีเท่าที่ควร แต่ก็อาจเหมาะสมกับความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ซึ่งไม่ต้องการบริโภคเนื้อที่มีคุณภาพสูงมากนัก แลค่าใช้จ่ายในการขุนวิธีนี้ก็ยังต่ำอีกด้วย
2. การขุนด้วยอาหารหยาบ เสริมด้วยอาหารข้น เป็นธุรกิจการขุนโคที่ต้องลงทุนสูง มุ่งให้ได้เนื้อโคขุนคุณภาพดี ส่งขายให้กับตลาดเนื้อชั้นสูง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามอายุและคุณภาพเนื้อที่ได้ดังนี้ คือ
2.1 การขุนลูกโคอ่อน เพื่อส่งโรงฆ่าเมื่ออายุน้อย ส่วนใหญ่นิยมใช้ลูกโคนมเพศผู้ เริ่มขุนตั้งแต่ลูกโคอายุ 1 สัปดาห์ หรือหลังจากได้รับนมน้ำเหลืองตามกำหนดแล้ว อาหารที่ใช้ลงทุนจะใช้หางนมผงเป็นหลัก ใช้เวลาขุนจนลูกโคมีอายุประมาณ 6-8 เดือน โคจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้เนื้อที่คุณภาพดี เมื่อส่งโรงฆ่า
2.2 การขุนโคที่เริ่มขุนเมื่อโคมีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือมีน้ำหนักประมาณ 200-250 ก.ก. ใช้ระยะเวลาขุนประมาณ 6 เดือน ให้ได้น้ำหนัก 400-450 ก.ก. แล้วส่งโรงฆ่า เป็นรูปแบบการขุนที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นิยมใช้โคเนื้อลูกผสมที่ทดสอบแล้วว่า มีการเจริญเติบโตดี คุณภาพเนื้อที่ได้จะดีกว่าการขุนในรูปแบบอื่นมาก และเกษตรกรหันมายึดเป็นอาชีพกันมากขึ้นในปัจจุบัน
2.3 การขุนโคที่มีอายุมาก หรือ โคที่โตเต็มวัยแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นโคที่ปลดจากการใช้แรงงาน ซึ่งมีอายุมักจะไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นการขุนเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อเพียงบางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มไขมันหุ้มซาก โดยไม่สนใจไขมันแทรกในเนื้อ จะใช้เวลาในการขุนประมาณ 3 เดือน โคที่ได้จากการขุนประเภทนี้ โดยทั่วไปนิยมเรียกกว่า "โคมัน"
การเลี้ยงขุน
วันที่เริ่มขุนควรวัดรอบอกโคและเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับโคขุน เช่น เบอร์ตัว วันเกิดโค (ถ้ามี) เบอร์พ่อ เบอร์แม่ พันธุ์โคที่ขุน ลงในบัตรหน้าคอกโคขุนเป็นรายตัว ให้อาหารข้นสำเร็จรูปมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14% ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยให้โคกินเต็มที่ ควรให้กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อย่าน้อยควรให้วันละ 2 ครั้ง ในฤดูร้อนควรให้อาหารตอนเช้ามืดหรือตอนเย็นเมื่ออากาศเย็น จะทำให้โคกินอาหารได้มากขึ้น ต้องมีน้ำสะอาดให้โคกินตลอดเวลา โคจะกินน้ำวันละประมาณ 20-50 บลิตร ขึ้นอยู่กับขนาดโคและสภาพอากาศ อ่างน้ำควรทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่ควรให้ถูกแดดจะทำให้น้ำมีความร้อน โคจะกินน้ำน้อยและทำให้กินอาหารได้น้อยลงด้วย โคที่โตช้าควรคัดออก เมื่อโคถ่ายมูลออกมาควรรีบตักออกโดยเร็ว จะทำให้คอกสะอาดอยู่เสมอ ควรล้างคอกเมื่อสกปรกมากเท่านั้น การอาบน้ำแปรงขนจะทำให้โคไม่เครียดและโตเร็ว การอาบน้ำและล้างคอกควรทำให้ช่วงบ่ายเพราะคอกจะแห้งเร็ว ไม่ชื้นแฉะ ซึ่งอาจทำให้โคปอดบวมได้ ไม่ควรปล่อยโคออกไปเดินแทะเล็มหญ้านอกคอกเพราะจะทำให้โคใช้พลังงานจากอาหารมากขึ้น น้ำหนักจะลดหรือโตช้าลง สังเกตว่าโคกินอาหารได้ตามปกติหรือไม่ โคทีไม่กินอาหารควรฉีดวิตามิน บี 12 เพื่อช่วยกระตุ้นจะลินทรีย์ที่ช่วยย่อยเยื่อใยของอาหาร ให้แร่ธาตุที่มีโคบอลต์เพื่อเสริมการออกฤทธิ์ของวิตามิน บี โคที่กินอาหารข้นมากเกินไปจะเป็นกรดในกระเพาะอาหารทำให้เบื่ออาหาร ท้องร่วงมีมูกเลือด หากโคเริ่มแสดงอาหารดังก่าวให้ลดอาหารข้นลง เพิ่มอาหารหยาบ เช่นหญ้า ให้กินมากขึ้น โคที่ป่วยไม่มากนักให้กรอกด้วยด่างเข้าทางปาก ด่างที่ใช้เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต 112 กรัม ผสมกับน้ำอย่างน้อย 600 มิลลิลิตร (หรือประมาณ 1 ขวดกลม) หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 ชั่วโมง ให้กรอกอีกครั้งโดยใช้ด่างครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว หรือใช้น้ำเกลือกแทงเข้าเส้นเลือดบริเวณคอ เพราะน้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายจะออกฤทธิ์เป็นด่าง หากโคมีอาหารหนักมากให้ตามเจ้าหน้าที่หรือสัตวแพทญืมารักษา เพราะอาจต้องผ่าเปิดกระเพาะเอาอาหารข้นออกแล้วแทนที่ด้วยฟางหรืออิเล็กโทรไลต์ หลังจากนั้นต้องฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การฉีดแอนติฮีสตามินจะช่วยให้โคฟื้นตัวเร็วขึ้น โคที่เป็นเรื้อรังควรคัดออก โคที่มีการท้องอืด อาการที่เห็นชัดคือ สวาปด้านซ้ายพองเต่ง โคอึดอัดกระวนกระวายหายใจไม่ออก วิธีแก้ใหยกส่วนหน้าโคให้สูงหรือใช้สายยางขนาด 1/2 นิ้ว ยาวประมาณ 150 ซ.ม. แหย่เข้าไปในปากจนถึงกระเพาะ หรือใช้โทรคาแคนนูลาหรือไม้ไผ่ตัดเป็นปากฉลามขนาด 1/4 นิ้ว ยาว 7-8 นิ้ว แทงบริเวณกลางสวาปซ้าย กรณีที่มีฟองแก๊ซมากต้องกรอกปากโคด้วยน้ำมันพืชปริมาณ 0.5-1 ลิตร ทุกครึ่งชั่วโมง เมื่อรักาาหายแล้วควรหาสาเหตุเพื่อแก้ไขซึ่งอาจเกิดเนื่องจากได้กินหญ้าอ่อน พืชตะรกูลถั่ว ยูเรีย และอาหารข้นมากเกินไป หรืออาจเกิดจากการกินอาหารที่เน่าเสีย สารพิษ สารเคมี โคที่มีอาการซึม เบื่ออาหาร หายใจถึ่ หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกไหล อาจเป็นปอดบวม แก้ไขโดยให้โคอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท อยู่สบาย ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น สเตรปโตมัยซิน เพนนิซิลลิน ออกซีเตตราซัยคลิน หรือนีโอมัยซิน เป็นต้น ไม่ควรให้ฝูงโคจากภายนอกเข้ามาในบริเวณที่ขุนโค เพราะจะทำให้โคขุนติดโรคระบาดได้ ควรวัดรอบอกโคอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อจะได้ทราบการเจริญเติบโตของโค บันทึกความยาวรอบอกที่วัดเก็บไว้ด้วย